ประศาสน์ จันทร์สุภา

prasart chandrasupa

จิตรกรรมชุดกำเนิดโลก

ตลอดระยะเวลาที่ผมสร้างสรรค์งานศิลปะมาหลายปี ผมสนใจในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของความเป็นชาติที่ให้กำเนิดโดยเสมอมา ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ผมได้สร้างผลงานศิลปะไว้หลายแนวแต่เนื้อหายังวนเวียนเกี่ยวเนื่องกับเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ของไทยที่ผมสามารถสัมผัสได้รอบๆตัว หยิบสื่อเหล่านั้นมาสร้าง
สรรค์ต่อตามความคิด ความรู้สึกและจินตนาการของตัวเอง ผลงานส่วนใหญ่จะเป็นงานจิตรกรรม ไม่ว่าจะใช่เทคนิค สีอคริลิค หรือสีน้ำมัน ช่วงหลังๆจะใช้สีน้ำมัน
เป็นหลัก ผลงานบางช่วงอาจจะเกิดการทับช่วงกันนั้นเพราะเกิดจารการที่บางครั้งขณะที่ทำงานชุดเดิมๆอยู่แต่ก็เกิดความคิดใหม่ๆ ที่อยากจะดึงความคิดนั้นออกมา
สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นรูปธรรม ผลงานที่นำมาเสนอนี้ไม่ได้เป็นผลงานทั้งหมดที่ผมได้ทำมาเพราะมีหลายชิ้นที่ไม่ได้ถ่ายภาพเก็บไว้ หรือภาพศูญหายโดยส่วนใหญ่ จะเป็นผลงานที่สมัยยังถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม

" ผลงานชุดกำเนิดโลก "
แนวความคิดในผลงานชุดกำเนิดโลกมาจากผมได้อ่านเรื่องราวในหนังสือ “ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ” ไตรภูมิฉบับหลวงทำให้สนใจในเนื้อหาเรื่องราวที่ว่าด้วย
การกำเนิดโลก การเกิดดอกบัวที่เป็นบุพนิมิตทำนายถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในโลกนั้นตามจำนวนดอกบัวที่ปรากฏ พูดถึงการกำเนิดมนุษย์และ
สรรพสิ่งการเกิดพระอาทิตย์และพระจันทร์ ในงานจิตรกรรมของผมได้นำเอาองค์ประกอบ รายละเอียดบางส่วนจากงานจิตรกรรมฝาผนังมาสร้างเสริมรูปแบบตาม
ความคิดที่ผมอยากจะแสดงออก โดยใช้วิธีการสร้างบรรยากาศให้เป็นแบบเสมือนจริงมีมิติแบบงานเรียลลิสติกตามแบบงานจิตรกรรมสากล แต่ยังคงไว้เนื้อหาและ
รูปลักษณ์บางส่วนแบบงานจิตรกรรมไทย เป็นการผสมผสานกันสองรูปแบบ ด้วยเทคนิคสีอคริลิคและสีน้ำมัน ทั้งนี้ผมได้รับอิทธิพลของงานตะวันตกที่เคยมีโอกาส
ไปชมงานที่ประเทศอังกฤษและสเปนที่นำเรื่องราวในนิทานตำนานมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมผ่านผลงานจิตรกรรม

จิตรกรรมชุดวัด

แนวความคิดของงานจิตรกรรมชุดวัด
ในงานจิตรกรรมชุดนี้ผมได้แรงบันดาลใจจากความงดงามลงคัวของศิลปกรรมในวัดไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ลวดลายที่ประดับตกแต่ง
จังหวะที่สอดรับลงตัวของเส้นสาย ทำให้เกิดความปิติศรัทธาในความมุ่งหวังของครูช่างในอดีตที่จินตนาการคิดสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
สัมผัสได้ถึงชีวิต จิตวิญญาณที่สะท้อนผ่านผลงานศิลปกรรมเหล่านั้น ด้วยความงดงามของฝีมือชั้นครูสร้างความศรัทธาเคารพคิดที่จะอยากนำความงามเหล่า
นั้นมาถ่ายทอดเป็นงานศิลปะในรูปแบบงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคสีน้ำมัน โดยผมสร้างมุมมองและบรรยากาศสีสันใหม่ตามความคิดจินตนาการของตัวผมเอง
ผมไม่ได้สร้างงานจากมุมมองที่เห็นตรงๆจากสิ่งที่เห็นด้วยสายตาที่สภาพเป็นจริง เพราะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดต่างๆนั้นถูกบดบัง เบียดเสียดด้วย
สิ่งที่ไม่พึงปราถนามากมายจากเครื่องมือ เครื่องใช้ไม้สอยที่ถูกตั้งวางหรือสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์จนกระทบคุณค่าของศิลปกรรม จนถึงขั้นอาจจะทำให้
ผลงานที่ทรงคุณค่าเสียหายได้ ผมได้ตัดทอนสิ่งที่ไม่มีคุณค่าของวัตถุสิ่งก่อสร้างที่ไร้ประโยชน์ออกไป เปิดเผยให้เห็นผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าเท่านั้น

จิตรกรรมชุดเฉลิมพระเกียรติ

ภาพแรก คือ “ โครงการพระราชดำริอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่ากุยบุรี ” เป็นงานที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดขึ้นในนิทรรศการจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ในหัวข้อ
“ พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่ ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระ􀈀ทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 วันที่ 5 ธันวาคม 2550
ผมเป็นตัวแทนศิลปิน จ.ประจวบฯเขียนภาพเรื่องราวของพระองค์ท่านที่เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริต่างๆในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผมนำเรื่องราวที่พระองค์ท่านมีพระ
ราชดำริที่จะอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีสภาพเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการบุกรุกทำกินและการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพอากาศให้กลับคืนโดยเร็วเพิ่มพื้นที่ป่าไม้สำหรับสัตว์ป่า ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ปรับปรุงพื้นที่สภาพเสื่อมโทรมให้กลับคืน
สู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง

ภาพที่สอง ภาพ “ ทรงอุปถัมป์วัดทับไทร จ.จันทบุรี เป็นงานจิตรกรรมที่กระทรวงวัฒนธรรมได้คัดเลือกศิลปินมาเขียนภาพร่วมงานศิลปกรรมในการพระาชพิธีพระราชทาน
เพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรู ท้องสนามหลวง ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ผมและศิลปินอีก 83 ท่านได้รับมอบหมายให้เขียนภาพสื่อให้เห็นถึงกรณียกิจมากมายที่พระองค์ท่านได้ทรงงานไว้ตลอดพระชนมายุของพระองค์ท่าน ผมได้เขียน
ภาพที่พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงพุทธศาสนา และวัดทับไทร จังหวัดจันทบุรี ก็เป็นหนึ่งในวัดที่พระองค์ท่านทรงเป็นองค์อุปถัมป์

จิตรกรรมห้องพระ

ผลงานชุดนี้เป็นงานที่ผมได้รับเขียนห้องพระให้นักสะสมศิลปะ เป็นผลงานที่ใช􀇸สีน้ำมันมีทั้งหมด 6 ภาพ ตามขนาดของผนังห้องแต่ละขนาด เนื้อหาของผลงาน
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งจากเรื่องราวในหนังสือไตรภูมิและหนังสือพระปฐมสมโพธิกถา ผมหยิบเอาเนื้อหาที่เห็นว่าน่าสนใจมาสร้างงานด้วยรูปแบบที่มาจาก
จิตรกรรมฝาผนังตามวัดของไทยผสมผสานกับความคิดจินตนาการบางส􀇹วนที่มาจากผลงานชุดกำเนิโลกของผมเป็นงานลักษณะกึ่งสองมิติและสามมิติตามที่ผมชอบ
เป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่และมีรายละเอียดมาก

จิตรกรรมชุดปรากฏการณ์แห่งช่วงเวลา

ผลงานชุดปรากฏการณ์แห่งช่วงเวลา
ผลงานชุดนี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายสัจธรรมในปรัชญาคำสอนของพุทธศาสนา ที่ชี้ให้เห็นว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ไม่เที่ยง
ไม่แน่นอน เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป แต่ละช่วงเวลาทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปไม่อาจคงอยู่ได้ตลอดไป ผมยืมรูปแบบช่าง นักท่อง
เที่ยว โบราณสถานมานำเสนอให้สัจธรรมข้อนี้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะผ่านไปเพียงช่วงเวลาหนี่งเท่านั้น แม้จะเกิดเหตุการคล้ายกันแต่ก็ไม่ใช้เหตุการเดียวกัน
นั่นแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่อาจคงทนอยู่ได้เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงช่าหรือเร็วเท่านั้น ในงานจิตรกรรมของผมใช้เทคนิคการระบายสีที่ลักษะณะ
เป็นเส้นๆ สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตหรือวัตถุเป็นลักษณะขาดๆหายๆของรูปทรงแสดงให้ความไม่สมบูรณ์เลือนหายไปให้ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการแสดงออกมา
โบราณสถานแม้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่คงทนยาวนาน แต่สุดท้ายก็ย่อมเสื่อมสลายหายไปอยู่ดีเพียงแต่เราบูรณะซ่อมแซมเพียงเพื่อยืดอายุความเสื่อมสลายและ
รักษาสิ่งที่สังคมเห็นว่ามีคุณค่าสมควรรักษาไว้

จิตรมากรรมชุดช้าง

ผลงานชุดลมหายใจที่เหลืออยู่
แนวความคิดของผลงานชุดนี้เกิดจากที่ผมได้เดินเที่ยวโบราณสถานที่จังหวัดอยุธยาบ่อยๆ ไปเห็นช่างที่เมื่อครั้งในอดีตเคยเป็นสัตว์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ใน
สมัยอยุธยา แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันบทบาทต้องเปลี่ยนไปกลายมาเป็นช่างที่ให้ความสำราญแก่นักท่องเที่ยวนั่งหลังช่างชมทิวทัศน์รอบๆโบราณสถาน และปัจจุบัน
จำนวนประชากรช่างในประเทศก็ลดลงตามสภาพสังคมและบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป ภาพช􀇸างที่พานักท่องเที่ยวเดินชมโบราณสถานทำให้เกิดความคิดอยากจะสร้าง
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานที่เคยรุ่งเรื่องเป็นเมืองหลวงแต่ครั้งในอดีตปัจจุบันก็มีสภาพเป็นเมืองร้างทรุดโทรมต้องอนุรักษ์ไว้ให้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติ
ศาสตร์ของชาติ ผมนำภาพช่างมาสร้างเป็นภาพผสมผสานกับภาพโบราณสถานเพื่อบ่งบอกให้เห็นชีวิตของช่างและโบราณสถานเคยอยู่คู่กันมา โดยใช้เทคนิควาด
แบบเสมือนจริงผสมผสานแบบงาน Surrealism เพื่อในตัวงานเกิดเป็นรูปแบบตามความคิดและจินตนาการตามที่ผมอยากจะสื่อสู่สังคม เป็นการสะท้อนแรงจูงใจ
ให้เห็นความสำคัญทั้งช่างและโบาณสถานที่มีคุณค่าต่อชนในชาติ

ผลงานสองภาพสุดท้ายในเซตนี้ เป็นผลงานที่เกี่ยวเนื่องทางความคิดจากผลงาน “ ลมหายใจที่เหลืออยู่ ” ใชรูปแบบช่างและโบราณสถานมาสร้าง
รูปทรงผสมผสานกันสร้างความผูกพันระหว่างสัตว์และสถาปัตย์ที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันรู้สึกห่างร้างราไกลจากความรู้ผูกพันกับผู้ความในยุคนี้ ใช้เทคนิค
วิธีการเพ็นแบบผลงานชุด “ ปรากฏการณ์แห่งช่วงเวลา ” แต่ลดการใช้สีที่หลากหลายเป็นการใชสีแบบโทนเดียว ( Monochrome) เพื่อต้องการสร้างอารมณ์
ให้เกิดความแล้งหม่นหมองน่าเป็นห่วงต่อภาพที่เห็น